วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการให้คำปรึกษา

ทฤษฎีการให้คำปรึกษา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
เป้าหมายที่สำคัญของการใช้ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ไปให้คำปรึกษาแก่ Client  มีดังต่อไปนี้
               1.ดึงแรงจูงใจในระดับจิตไร้สำนึกมาสู่ระดับจิตสำนึก เป็นการทำให้ ego เข้มแข็งขึ้นทำให้ Client เข้าใจสาเหตุของพฤติกรรม นำไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ เช่นคนไข้ระบายความโกรธมาสู่เราซึ่งเป็น Counselor โดยมีสาเหตุจากจิตใต้สำนึกเกลียดพ่อ และบังเอิญตัวเรามีอะไรบางอย่างเหมือนพ่อของเขา ถ้าเรารู้ความจริงเช่นนี้ ต้องดึงสิ่งที่อยู่ในจิตไร้สำนึกของคนไข้ออกมาให้เขารับรู้และเข้าใจ
2.ลดความวิตกกังวลของ Client เพื่อใช้ระบบเหตุผลในการพิจารณาสิ่งต่างๆตามข้อเท็จจริง ลดการใช้กลไกป้องกันตัวเอง เช่นทุกครั้งที่พูดถึงแม่ Client จะมีท่าทางอึดอัด พูดตะกุกตะกักและไม่ยอมตอบคำถามใดๆเกี่ยวกับเรื่องแม่ แสดงว่าคนไข้ต้องมีความขัดแย้งกับแม่
และใช้กลไกป้องกันตัวเอง เราต้องพูดให้คนไข้เข้าใจและยอมรับถึงปัญหาดังกล่าว แล้วมาพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่า ทำไม Client จึงไม่อยากพูดถึงแม่ เมื่อรู้ความจริงแล้ว เราจึงจะช่วยเหลือเขาได้
                3. ช่วยให้ Client สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น รับผิดชอบและแก้ไขปัญหาได้ด้วย
ตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เมื่อเราสามรถชี้ให้ Client เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของเขา จนเขายอมรับแล้ว ต่อไปเขาจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง เพราะเข้าใจปัญหาดีแล้ว
                4.หลังจากที่ Client เข้าใจตัวเอง เข้าใจปัญหา ยอมรับและสามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้ว Client จะมีสุขภาพจิตที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสุข

ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของ Alfred Adler
                                ประวัติ Alfred Adler เกิดประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1870 ครอบครัวของเขามีฐานะปานกลาง Adler เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน การศึกษาหลังจากเรียนจบการศึกษาเบื้องต้นแล้วเขาได้เข้าการศึกษาแพทย์ที่ Vienna Medical School จาก การศึกษาที่นี่เขาได้รับการเน้นว่าแพทย์ต้องทำการรักษาคนไข้ทุกเรื่อที่ เกี่ยวข้องกับตัวเขาทั้งหมดไม่เฉพาะแต่เรื่องความเจ็บป่วยเท่านั้น Adler ชอบคำสอนที่ว่า ถ้าคุณต้องการเป็นหมอที่ดี คุณก็ต้องเป็นคนที่มีความเมตตากรุณา” ( If you want to be a good doctor, you have to be a kind person) คำกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เขาสนใจมากและจดจำไม่ลืมลูกคนสุดท้อง มักมีบุคลิกภาพเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง ช่างประจบ ชอบให้คนอื่ช่วยเหลือ ได้รับความรักจากพ่อแม่พี่ๆ ค่อนข้างมาก ถ้าเลี้ยงดีก็จะดีมากแต่ถ้าเลี้ยงตามใจมากเด็กอาจเสียในที่สุดลูกโทน มักจะมีบุคลิกภาพที่มักจะเอาแต่ใจตนเอง มักถูกตามใจจนเคยตัว แต่ถ้า
                ครอบครัวสอนให้รู้เหตุรู้ผลลูกโทนจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง องอาจ นับถือตนเอง แต่ความรับผิดชอบอาจน้อยเพราะต้องการอะไรก็มักจะได้โดยง่ายจึงไม่รู้ค่าของ สิ่งที่มี
            แนวคิดของ Adler ยังเน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และเขาบอกว่าการดูคนต้องดูทั้งหมด ดูทุกแง่ทุกมุมและนำความรู้จากการดูนั้นมาทำความเข้าใจบุคคลนั้นทั้งหมด ( Person as a whole ) และเด็กจะรู้ถึงตนเมื่ออายุ 2 ขวบ และเด็กก็จะรู้ถึงความเด่นและความด้อยด้วยเช่นกัน 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของเกสตัลท์
                                ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์กลุ่มนี้เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 ได้ชื่อว่า กลุ่มจิตวิทยาส่วนร่วมคำว่า “Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด (totality หรือ configuration) กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดสมัยเดียวกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มเกสตัลท์นิยมเกิดในเยอรมัน กลุ่มพฤติกรรมนิยม เกิดในอเมริกา กลุ่มนี้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญานิยม”(cognitivism) ผู้นำกลุ่มที่สำคัญ คือ เวอร์ธไฮเมอร์ (Max Wertheimer, 1880 – 1943) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lewin)และโคเลอร์ (Wolfgang Kohler, 1886 – 1941)ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกัน เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
                                กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า  พฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้มีลักษณะของการสมยอมและเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่ง เร้าโดยอัตโนมัติ ตรงกันข้ามเมื่อมนุษย์พบสิ่งเร้า มนุษย์จะตีความแล้วจัดเสียใหม่ให้เป็นระบบและมีความหมาย ดังนั้นพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาจึงมิใช่การตอบสนองตามเงื่อนไขแต่เพียง อย่างเดียว แต่พฤติกรรมที่แสดงออกได้สะท้อนให้เห็นถึงความคิด อารมณ์ และความรู้สึกภายในของมนุษย์ด้วย
            แนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักจิตวิทยาสังคมกลุ่มหนึ่งซึ่ง เมื่อนำเอา แนวคิดนี้มาศึกษาพฤติกรรมมนุษย์แล้ว เสนอว่า มนุษย์มีธรรมชาติดังนี้ คือ
          1.1   เอาใจใส่ต่อสิ่งเร้าซึ่งมีลักษณะแปลกใหม่และซับซ้อน
          1.2   ต้องการความสอดคล้องกันระหว่างความรู้ความเข้าใจ
          1.3   ต้องการความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง
          1.4   ต้องการแสวงหาความจริง
          1.5   ต้องการควบคุมสิ่งแวดล้อม
                                นักจิตวิทยาสังคมกลุ่มนี้ได้ชี้ให้เห็นถึง แนวโน้มที่มนุษย์ชอบและแสวงหา ความสอดคล้องกันระหว่างความรู้และความเข้าใจ จากจุดนี้แสดงให้เห็นว่าความต้องการที่จะคิดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นสามารถ จูงใจคนให้แสดงพฤติกรรมได้
กฎการเรียนรู้ของเกสตัลท์
            หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ
            1. การรับรู้ (Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ  หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้นกลุ่มของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ 4 ข้อ เรียกว่า กฎแห่งการจัดระเบียบ คือ
                        1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
                        1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัด เข้ากลุ่มเดียวกัน
                        1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
                        1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
                        1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัย ประสบการณ์เดิม
   2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้น ตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการมองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่าได้ยินได้ค้นพบแล้ว ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด
สรุป
            หลักความเชื่อของเกสตัลท์ มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยของเราเองได้ มีการตื่นตัวกันมากที่จะนำแนวคิดนี้มาสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อแก้ ปัญหาสังคม โดยนักการศึกษาส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่า หากเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง แม้จะเผชิญกับความยุ่งยากในการนำทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ แม้มีอุปสรรคมากมายต่อการพัฒนาประเทศ แต่ประชากรที่มีคุณภาพน่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ด้วยวิริยะอุตสาหะ ด้วยความหาญฉลาดแห่งปัญญา และด้วยคุณธรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ซึ่งกลุ่มมนุษย์นิยมเชื่อว่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงในบรรยากาศของความรักความอบอุ่ม เขาจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย และจะเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นผู้ใหญ่ที่มองโลกในแง่ดี มีน้ำใจให้คนอื่น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงให้รู้จักช่วยตัวเองตามวัย ตามความถนัด ความสนใจ และตามบทบาทหน้าที่ภายใต้การให้กำลังใจจากผู้ใหญ่ เด็กนั้นจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในสังคมกลุ่ม มนุษย์นิยมมีความเชื่อว่าการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนเรานั้นจะทำได้โดย ให้คนมองเห็นส่วนดีในตนเอง และเกิดแรงจูงใจในการนำส่วนดีมาใช้ประโยชน์ ให้รู้จักวางแผนชีวิตและสร้างพลังใจให้ดำเนินชีวิตไปตามแผน ให้ได้มีโอกาสศึกษาตนเองในแง่มุมต่าง ๆ และให้ได้แนวทางในการเรียนรู้บุคคลอื่น ๆ ที่แวดล้อมตนเพื่อปรับตนในการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างได้ประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับตนเอง ยอมรับคนอื่น เมื่อยอมรับตนเองก็เกิดความเชื่อมั่น ปฏิบัติตนเป็นธรรมชาติ ลดความก้าวร้าว และความเก็บกดลงไปได้ เมื่อยอมรับคนอื่นก็จะทำให้มองโลกในแง่ดี ทำให้อยู่ร่วมกันโดยสันติสุข

การให้คำปรึกษาแบบทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
                โดยเนื้อของทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางนั้นจะเน้นการให้คำปรึกษาแบบไม่นำ ทาง เพราะมุ่งเน้นในตัวของผู้รับคำปรึกษาจากการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อ การสร้างสรรค์และตระหนักรู้แห่งตนของผู้รับคำปรึกษา ให้ผู้รับคำปรึกษาเห็นความสำคัญต่อการรับผิดชอบ และความสามารถในตัวของผู้รับคำปรึกษาเอง ค้นหาพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับตนเอง ด้วยการเปิดรับประสบการณ์  มีความไว้วางใจในตนเอง เพื่อให้เป็นตัวของตัวเองอย่างที่เป็นอย่างถูกต้อง
                ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสร้างสัมพันธภาพของ บุคคล  โดยการช่วยเหลือที่ผ่านสัมพันธภาพกับผู้ให้คำปรึกษาที่ให้ความเอาใจใส่  เข้าใจและมีความจริงใจ เป็นสัมพันธภาพกับผู้ให้คำปรึกษาที่มีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมการ แสดงออกกับความรู้สึกและความคิดภายใน มีการยอมรับ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่เน้นการใช้เทคนิคที่ตายตัว ผู้ให้คำปรึกษาจะใช้เจตคติในการเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ
            โดยผู้ให้คำปรึกษาควรมีคุณลักษณะของสัมพันธภาพการให้คำปรึกษา ที่จะนำไปสู่การสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาอย่างเหมาะสม ซึ่งตามความเห็นของโรเจอร์ มีอยู่ 6 สภาพการณ์ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ
                1. การติดต่อกันทางจิตใจ บุคคลสองคนมีสัมพันธภาพต่อกันและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
                2. ความไม่สอดคล้อง ผู้รับคำปรึกษาอยู่ในภาวะอ่อนแอด้านจิตใจ ได้แก่ กลัว วิตกกังวล หรือความทุกข์อื่น ๆ ความทุกข์เหล่านี้เป็นความไม่สอดคล้องระหว่างการรับรู้ตนเองของเขากับ ประสบการณ์ที่เป็นอยู่จริง บางครั้งผู้รับคำปรึกษาไม่ได้ตระหนักถึงความไม่สอดคล้องนี้ จึงจำเป็นต้องเพิ่มการตระหนักรู้และเปิดรับประสบการณ์จากการให้คำปรึกษามาก ขึ้น
                3. ความสอดคล้องและความจริงใจ  ในสัมพันธภาพการให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาต้องเป็นตัวของตัวเองอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง
                4. มองด้านบวกอย่างไม่มีเงื่อนไขหรือยอมรับ ผู้ให้คำปรึกษายอมรับผู้รับคำปรึกษาที่เขาเป็น ไม่ว่าเขาจะปวดร้าว เป็นทุกข์แปลกประหลาด มีความรู้สึกผิดไปจากธรรมดา หรือมีความรู้สึกดี ๆ ก็ตามการยอมรับไม่ได้ หมายถึง เห็นด้วยกับเขาแต่ผู้ให้ความใส่ใจในฐานะเขาเป็นบุคคลหนึ่ง ไม่มีการตัดสินตัวผู้รับคำปรึกษา การมองด้านบวกอย่างไม่มีเงื่อนไขของผู้ให้คำปรึกษา จะช่วยเพิ่มด้านบวกต่อตนเองของผู้รับคำปรึกษา
                5  การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ผู้ให้คำปรึกษาให้ความเอาใจใส่เขามาใส่ใจเราตามกรอบแห่งการอ้างอิงภายในของ ผู้รับคำปรึกษา และพยายามสื่อสารให้ผู้รับคำปรึกษาได้รับรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นการเข้าไปสู่โลกของผู้รับคำปรึกษา โดยปราศจากอิทธิพลของทัศนะคติและค่านิยมของผู้ให้คำปรึกษาเอง การกระทำเช่นนี้ผู้ให้คำปรึกษาต้องมีการแยกตนเองออกมาให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เขาหลงอยู่ในโลกแห่งการรับรู้ของผู้รับคำปรึกษา
                6. การรับรู้ถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเราและการยอมรับ การที่ผู้ให้คำปรึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไขและเข้าใจอย่างเอาใจเขามาใส่ใจเรา ยังถือว่าไม่เพียงพอ ผู้รับคำปรึกษาต้องรับรู้ถึงสภาพการณ์ที่ผู้ให้คำปรึกษาสื่อสารมาให้ทราบ ด้วยอาจเป็นการสื่อสารด้วยภาษาพูดหรือภาษากาย เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เป็นการถูกบังคับหรือเสแสร้งทำ
แนวคิด 
·        มนุษย์มีความสามารถที่จะแก้ปัญหา หรือตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·        ความทุกข์ ทำให้เกิดความสับสน  บดบังความสามารถในการใช้เหตุผล
·        มนุษย์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพการณ์ที่เหมาะสม ดังนั้น ผู้ให้บริการปรึกษาจึงควรเน้นจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่ผู้รับบริการการ ปรึกษา
·        โดยพื้นฐานมนุษย์เป็นคนดีและน่าเชื่อถือ เพราะเกิดกลไกการป้องกันจิตใจตนเอง มนุษย์จึงแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
·        มนุษย์รับรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องเข้าใจกรอบการรับรู้ของผู้รับบริการปรึกษา
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
1. ค้นพบ เข้าใจ และยอมรับตนเอง
2. หาทางที่จะพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เข้ากับความเป็นจริง
3. เข้าใจตนเองว่าอะไรคืออุปสรรคของความเจริญงอกงามของตน
4. รับรู้ถึงสิ่งที่ทำให้รับ รู้ตนเองผิดไปจากความเป็นจริง
เทคนิคในการให้การปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
1. การรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (Intensive Listening )และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นจริงใจ
2. การยอมรับฟังในเรื่องราวและความเป็นบุคคลของผู้รับการปรึกษาโดยไม่มีเงื่อนไข โดยไม่ตัดสิน
3. การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)
4. การทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัด (Clarifying)
5. การสนับสนุน (Supportive)
             ผู้ให้การปรึกษาที่ใช้ ทฤษฎี Client–Centered จะเปิดโอกาสและให้ความไว้วางใจ ตลอดจน มอบความรับผิดชอบให้แก่ผู้รับการปรึกษาเป็นอย่างมาก ในเรื่องการตัดสินใจที่จะจัดการกับปัญหาด้วยตัวของผู้รับการปรึกษาเอ

ทฤษฎีวิเคราะห์ติดต่อสัมพันธ์ (TA)
                                อีริค เบิร์น(Eric Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1910 ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบิร์นสไตลน์  พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบิร์นสไตน์ เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบิร์น      ซารา กอร์ดอน เบิร์นสไตน์  มีอาชีพเป็นนักเขียน  เบิร์น มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี พ่อแม่ของเบิร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์.  ทั้งพ่อและแม่ของเบิร์น จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก, ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย. คุณหมอเบิร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย 38 ปี. แม่ของเบิร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิต เธอสนับสนุนให้เบิร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบิร์นสไตน์พ่อ ของเบิร์น. เบิร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในปี 1935
                                ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสภาวะทั้ง 3 ส่วนนี้ จะมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน แต่สภาวะใดจะเด่นชัดมากน้อยกว่ากัน ย่อมขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่า พลังทางจิต (Psychic Energy) ของบุคคลนั้นจะไหลไปสู่สภาวะใดมากกว่ากัน ในขณะที่แสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่งจะทำให้สภาวะอื่นมีบทบาทน้อยลงหรือหมดไป บุคคลที่มีความคล่องตัว พลังทางจิตจะไหลเวียนถ่ายเทจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่งได้คล่องแคล่ว ทำให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาได้เหมาะสมกับกาลเทศะของบุคคล แต่ในบุคคลที่ไม่ยอมให้พลังทางจิตไหลเวียนถ่ายเทและติดแน่นอยู่กับสภาวะใด สภาวะหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ และใช้แต่สภาวะนั้นในการแสดงพฤติกรรม อาจก่อให้เกิดปัญหาในการปรับตัวติดตามมา
                                1. สภาวะความเป็นเด็ก (Child Ego State) เมื่อเราอยู่สภาวะตัวตนแบบเด็ก เราจะแสดงออกเหมือนเด็ก. ไม่ใช่แค่แสดงออกเท่านั้น เราจะคิด รู้สึก มอง ได้ยิน และตอบสนองราวกับเด็กอายุสามขวบ ห้าขวบ หรือแปดขวบ. สภาวะตัวตนเกิดจากสภาวะที่บุคคลมีประสบการณ์อย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพียงแค่บทบาทหนึ่งเท่านั้น. เมื่อเด็กมีความรู้สึกเกลียดหรือรัก ตื่นเต้น เป็นธรรมชาติ หรือชอบเล่นสนุก เราจะเรียกเด็กประเภทนี้ว่า เด็กตามธรรมชาติ(Natural Child). เมื่ออยู่ภาวะช่างคิด ชอบทำโน่นทำนี่ ช่างจินตนาการ เราจะเรียกภาวะแบบนี้ว่า ศาสตราจารย์ตัวน้อย (Little Professor). เมื่อเขารู้สึกกลัว รู้สึกผิด ขี้อาย สภาวะนี้จะถูกเรียกว่า เด็กที่อยู่ในโอวาท(Adapted Child). เด็กอาจมีความรู้สึกได้ทุกอย่างที่กล่าวมา เกลียด รัก โกรธ สนุกสนาน เศร้าสร้อย เขินอายหรืออื่นๆ. โดยปกติ เด็กมักจะถูกตำหนิว่าเป็นสาเหตุของความวุ่นวาย  เนื่องจากเขามักจะเอาแต่ใจตนเอง เจ้าอารมณ์ แข็งกร้าว ต่อต้านต่อความกดดันที่มากระทบ
                                2. สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult Ego State) เมื่ออยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(Adult ego state) บุคคลจะแสดงออกเหมือนคอมพิวเตอร์. คอมพิวเตอร์จะทำงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้และเก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อ ตัดสินใจตามโปรแกรมที่อิงตามหลักตรรกะ.เมื่ออยู่ในในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ บุคคลจะใช้ความคิดแบบตรรกะในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะตัวตนแบบ ผู้ใหญ่และแบบเด็กไม่ระบบกวนกระบวนการ. ดังนั้น การใช้อารมณ์จึงไม่ใช่สิ่งที่ดีในความคิดของคนที่มีภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่. ในที่นี้หมายถึงการใช้เหตุผลหรือการคิดแบบตรรกะที่พวกเราต้องการที่จะแยกตัว เราเองออกจากอารมณ์ของเราเท่านั้น. ไม่ได้หมายความว่า การมีเหตุผลหรือหลักการคิดแบบตรรกะจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในทุกเวลา.  อันที่จริง  ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่แบบแยกตัวออกมาอย่างเด่นชัดเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ไม่ สมบูรณ์แบบ ดังนั้น ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ที่แยกตัว จะมีผลกระทบชัดเจนต่อบุคคลเช่นเดียวกัน. บุคคลอาจตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ว่า ฉันเป็นผู้ใหญ่และฉันก็มีอารมณ์ แบบนี้ใช่หรือไม่. การเป็นมนุษย์ที่มีวุฒิภาวะและเจริญเติบโตขึ้นไม่เหมือนกับการอยู่ในภาวะตัว ตนแบบผู้ใหญ่. เด็กเล็กก็สามารถอยู่ในภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่ของพวกเขาได้ และปรับเปลี่ยนไปตามวัย พร้อมกับสามารถใช้ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่และเด็กได้ตลอดเวลาเช่นกั
                                3. สภาวะความเป็นบิดามารดา (Parent Ego state) ภาวะตัวแบบพ่อแม่มีลักษณะตรงกับข้ามกับภาวะตัวตนแบบเด็ก. ภาวะตัวตนแบบพ่อมีจะมีลักษณะเก็บจำล่วงหน้า ด่วนตัดสิน มีอคติล่วงหน้าในการดำรงชีวิต. เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ เขาจะคิด รู้สึก และแสดงออกเหมือนพ่อแม่หรือคนที่เขาถือเป็นแบบอย่าง. ภาวะตัวแบบพ่อแม่จะตัดสินใจ ว่าจะต้องสนองต่อเหตุการณ์อย่างไร อะไรดีหรือไม่ดี  และบุคคลจะดำรงชีวิตอยู่อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องอิงอยู่กับหลักเหตุผล. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่อาจแสดงออกในรูปของการตัดสิน ต่อต้าน ควบคุม หรือให้การสนับสนุนก็ได้. ภาวะตัวตนแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปการติเตียน จะถูกเรียกว่า พ่อแม่ช่างตำหนิ(Critical Parent). ภาวะตัวตัวแบบพ่อแม่ที่แสดงออกในรูปของการสนับสนุนจะถูกเรียกว่า พ่อแม่ผู้อารีย์(Nurturing Parent) .
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบ TA
1. เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเลือกใช้ Ego Stage แต่ละสภาวะให้เหมาะสม
2. เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยน Ego Stage จากสภาวะหนึ่งไปสู่ Ego Stage อีกสภาวะหนึ่งได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาใช้ Adult Ego Stage เพื่อช่วยให้เข้าใจตนเองได้ตรงตามสภาพที่เป็นจริง และมีเหตุผล ตลอดจนสามารถเป็นตัวของตัวเองอย่างเป็นธรรม
4. เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาอยู่ในตำแหน่งชีวิตแบบ “ I’m OK – you’re OK
กระบวนการให้การปรึกษาแบบ TA
                1. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structural Analysis) จะช่วยให้บุคคลเข้าใจถึงโครงสร้าง
                ของตนเองว่ามีสภาวะของ Ego stage อย่างไร เพื่อช่วยให้บุคคลนั้นสามารถใช้ Ego stage แต่ละสภาวะได้อย่างเหมาะสม
                2. การวิเคราะห์สัมพันธภาพ (Transactional Analysis) เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษา
                เข้าใจถึงวิธีการสื่อสัมพันธ์ที่ตนเองใช้ในการแสวงหาความเอาใจใส่จากผู้ อื่น (Stroke) และหาทางปรับปรุงวิธีการสื่สัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น
                3. การวิเคราะห์เกมทางจิตวิทยา (Games Analysis)เกมทางจิตวิทยา หมายถึง วิธีการที่บุคคลพยายามเอาประโยชน์จากบุคคลอื่น เพื่อให้ได้ความเอาใจใส่ (Stroke) ที่ตนพอใจผู้ให้การปรึกษาต้องวิเคราะห์เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาได้ทราบและ เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ผู้รับการปรึกษาได้ใส่ความหมายอะไรลงไปในเกมหรือเหตุการณ์นั้น และผู้รับการปรึกษาต้องการอะไรจากเกมนั้น ผู้ให้การปรึกษาต้องบอกให้ผู้รับการปรึกษาเลิกเล่นเกมที่เคยใช้มา เพื่อแสวงหาความเอาใจใส่ (Stoke) จากผู้อื่น ควรชี้ให้ทราบว่ามีวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่าที่จะได้มาซึ่งความเอาใจใส่

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalytic Theory ) ถูกก่อตั้งโดย Sigmund Freud(1856-1939 )
                  ฟรอยด์เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1856 บิดามารดาเป็นชาวยิว เขาเจริญเติบโตและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่กรุงเวียนนา จนถึง ปี 1938 เมื่อนาซีบุกจู่โจม เขาจึงได้อพยพไปอยู่ที่อังกฤษและเสียชีวิตในปีต่อมาด้วยโรคมะเร็งที่ขา กรรไกร หลังจากรักษาด้วยการผ่าตัดถึง 30 ครั้ง
หลักการของทฤษฎี 
1.ทฤษฎีบุคลิกภาพ  ฟรอยด์กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์มีสาระสำคัญดังนี้
                    *บุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณทางด้านชีววิทยาเช่นความหิว ความกลัวตาย
                    *แรงกระตุ้นต่างๆจะนำไปสู่การลดความเครียดทางด้านร่างกาย บางครั้งจะขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมและขอบเขตของศีลธรรม เช่นความต้องการทางเพศ
                    *ความเจริญเติบโตทางด้านจิตใจเกิดจากการที่บุคคลสามารถจัดการกับแรงกระตุ้นต่างๆได้เหมาะสมหรือไม่
                     *ความเจริญเติบโตทางด้านจิตใจต้องผ่านไปตามลำดับขั้นของพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก
                    *พฤติกรรมของมนุษย์ถูกกำหนดขึ้นมาจากจิตไร้สำนึกและจิตสำนึก ทุกพฤติกรรมเกิดเพราะมีสาเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นอย่างอิสระเสรี
                    *ระหว่างจิตไร้สำนึกและจิตสำนึกนั้น จิตไร้สำนึกจะมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมมากกว่าจิตสำนึก
2.โครงสร้างบุคลิกภาพ  ฟรอยด์ได้แบ่งจิตใจมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือจิตไร้สำนึก( Unconscious )  จิตกึ่งรู้สำนึก ( Preconscious ) และจิตรู้สำนึก ( Conscious )
                *จิตไร้สำนึก เป็นที่เก็บความคิดและความรู้สึกที่ถูกเก็บกดทั้ง หลาย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้บางครั้งถูกส่งออกมายังจิตสำนึก โดยต้องผ่านการตรวจสอบของจิตกึ่งรู้สำนึกก่อน จิตไร้สำนึกจะเป็นส่วนของสัญชาตญาณทั้งหลาย ความพึงพอใจ ความปรารถนาต่างๆ โดยมันไม่สนใจเรื่องของเวลา เหตุผลหรือความขัดแย้ง ฟรอยด์บอกว่าถ้าความปรารถนาในจิตใต้สำนึกไม่บรรลุผล จะทำให้เกิดการฝันหรืออาการทางโรคประสาทได้
                     *จิตกึ่งรู้สำนึก เป็นส่วนที่คอยทำงาน เชื่อมประสานระหว่างจิตไร้สำนึกและจิตรู้สำนึก มันทำหน้าที่ในการตรวจสอบสิ่งที่จิตไร้สำนึกส่งมาให้กับจิตสำนึก และมันยังทำหน้าที่คอยเก็บกดความปรารถนาและความต้องการที่ไม่อาจแสดงออกมา ได้ลงไปไว้ในจิตไร้สำนึก หากเราทำการกระตุ้นจิตกึ่งรู้สำนึก จะทำให้สิ่งต่างๆในจิตไร้สำนึกออกมาสู่จิตสำนึกมากขึ้น เช่นการสะกดจิต การทำจิตบำบัด หรือในกรณีที่คนไข้เป็นโรคประสาท
                   *จิตสำนึก คือจิตปกติในชีวิตประจำวันที่ทำงานประสานกับประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นส่วนของการคิด การตัดสินใจ การมีอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตสำนึก
ปัญหาต่างๆในบุคคลเกิดจากสิ่งที่เก็บไว้ในจิตไร้สำนึกถูกส่งมารบกวนจิตสำนึก จนมากเกินกว่าจะควบคุมได้
                นอกจากนี้แล้วฟรอยด์ยังได้แบ่งจิตใจออกเป็นอีก 3 แบบ คือ Id .Ego และ Super  Ego
             * Id เกิดขึ้นมาพร้อมกับชีวิตตั้งแต่แรกเกิด เป็นส่วนของสัญชาตญาณและแรงขับต่างๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตอบสนองความต้องการ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและลดความเครียดลง เช่นความหิว ความต้องการทางเพศ ซึ่งการแสดงออกอาจผ่านการสะท้อนของอวัยวะโดยตรง ส่วนการแสดงออกทางอ้อมคือการปลดปล่อยออกในลักษณะความปรารถนา Id นี้เปรียบเหมือนสัญชาตญาณดิบในสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีการพัฒนา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันจะทำงานในระดับของจิตไร้สำนึก
           * Ego เป็นส่วนที่ได้รับการพัฒนามาจาก Id เมื่อทารกเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก บุคคลเริ่มรับรู้ว่าตนไม่สามารถทำอะไรตามความต้องการของแรงขับได้ทุกอย่าง เพราะโลกแห่งความเป็นจริงควบคุมเราอยู่ หน้าที่หลักของ Ego คือ 1.รับรู้ความรู้สึกที่เป็นจริงที่ได้รับจากโลกภายนอก ทดสอบและประเมินความรู้สึกเหล่านี้ 2.ปรับ ตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงและขณะเดียวกันก็ต้องทำ ให้ตนเองมีความพึงพอใจด้วย 3.เพื่อควบคุมและสร้างกฎเกณฑ์ให้กับแรงขับทาง สัญชาตญาณ  4.เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกคุกคาม
                * Superego เป็นส่วนของค่านิยมทางสังคมที่เด็กได้รับโดยการอบรมจากพ่อแม่เพื่อให้ ตระหนักรู้ว่าพฤติกรรมแบบไหนเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆประกอบ ด้วย Conscience คือมโนธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ซึ่งเกิดจากการถูกพ่อแม่ทำโทษ และ Ego-ideal เกิดจากการทำสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้วได้รับคำชม รางวัลหรือการยอมรับ เป็นค่านิยมที่เรียนรู้โดยเด็ก ทั้ง Conscience และEgo-ideal จะมีความขัดแย้งกับ id  โดยความขัดแย้งจะเกิดในระดับจิตไร้สำนึก
3.พัฒนาการทางบุคลิกภาพ  ฟรอยด์ได้ใช้โครงสร้างบุคลิกภาพมาอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Psychosexual Development  ซึ่งพัฒนาการต่างๆเกี่ยวข้องกับด้านชีวภาพและพลังทางเพศ หากมีการชะงักงันหรือถูกขัดขวางในพัฒนาการขั้นไหนก็ตาม จะเกิดปัญหาบุคลิกภาพขึ้นมาได้
                  3.1 Oral stage เป็นพัฒนาการในช่วง 1 ปีแรกของอายุ ทารกได้รับความสุขทางปาก โดยการดื่มและกิน เด็กในวัยนี้ยังไม่รู้จักเหตุผลดังนั้นเขาจะทำตามแรงขับทางชีวภาพอย่างเดียว ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เมื่อได้รับการตอบสนองในเวลาหิว ความเครียดจะหายไป ความสุขความพึงพอใจจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหิวแล้วไม่ได้กินเด็กจะรู้สึกคับข้องใจ ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้นเช่นกลายเป็นคนจู้จี้ขี้บ่น กินจุบกินจิบ
                 3.2  Anal stage ในช่วงอายุ 2-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันในเรื่องขับถ่าย ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบาย เพราะถูกพ่อแม่ควบคุมในเรื่องนี้ ทำให้เด็กรู้สึกขัดแย้งกับพ่อแม่ ในวัยนี้ Ego เริ่มแยกตัวออกจาก Id และเด็กก็เริ่มรู้จักต่อต้านพ่อแม่ เช่นถ้าพ่อแม่เข้มงวดกับลูกมากเกินไป เด็กก็จะอั้นอุจจาระไม่ยอมถ่าย  เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นบุคลิกภาพแบบ Anal retentive  คือขี้เหนียวและดื้อดึง
                3.3 Phalic stage ในช่วงอายุ 3-5 ปี ในวัยนี้เด็กจะรู้จักความแตกต่างระหว่างเพศ และสนใจในอวัยวะสืบพันธุ์ เด็กชายจะใกล้ชิดแม่และห่างเหินจากพ่อ เกิดปม Oedipus ส่วนเด็กหญิงจะห่างเหินจากแม่และไปใกล้ชิดพ่อ เกิดปม Electra แนวความคิดดังกล่าวถูกโจมตีอย่างมากจากนักจิตวิทยาหลายคน เด็กชายที่มีความชะงักงันของพัฒนาการในช่วงนี้ จะกลายเป็นคนหลงตัวเอง ขี้อวด บางคนชอบมีเพศสัมพันธ์กับหญิงไม่เลือกหน้า ส่วนเด็กหญิงที่มีความชะงักงันของพัฒนาการในช่วงนี้ จะกลายเป็นคนที่ชอบเอาชนะผู้ชายตลอดเวลา
               3.4 Latency stage  ในช่วงอายุ 5-6 ปี ความรู้สึกทางเพศจะถูกแทนทีด้วยความรู้สึกรักหรือเกลียด รู้จักใช้ความคิดมากขึ้น ยึดหลักแห่งความจริงมากขึ้น มักจะเข้ากลุ่มกับเพื่อนเพศเดียวกัน เด็กจะเลียนแบบค่านิยมของพ่อแม่มากขึ้น
             3.5 Genital Stage เป็นระยะการเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม เรียนรู้เรื่องความรัก และเพศสัมพันธ์ เป็นช่วงการพัฒนาไปสู่ผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะเต็มที่ ในขั้นตอนนี้ถ้าพัฒนาการมีความราบรื่น พวกเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักรักตัวเองและผู้อื่น แต่ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงนี้ เด็กอาจมีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม เช่นมีความวิตกกังวลสูง มีความขัดแย้งในใจ ตื่นตระหนกหรือหวาดกลัว
4.แนวคิดในเรื่องกลไกการป้องกันตนเอง  มนุษย์มีความทุกข์เพราะegoต้องคอยจัดการกับแรงขับของ id และการเรียกร้องของ super-ego ฟรอยด์เทียบเทียบว่า ego เหมือนสนามรบ ที่ id กับ super-ego เข้ามาปะทะกัน ทำให้บุคคลเกิดความขัดแย้งและร้อนรนใจ บางครั้งเกิดความกลัว ความรู้สึกผิด ดังนั้น ego จึงต้องมีกลไกในการป้องกันตัว
            4.1  Repression (การเก็บกด) คือขจัดแรงกระตุ้นจากสัญชาตญาณไม่ให้ออกมาสู่จิต
                รู้สำนึก โดยเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก หรือการทำลายความทรงจำที่เกี่ยวกับประสบการณ์เลวร้ายหรือเจ็บปวด โดยซ่อนไว้ในจิตไร้สำนึก
            4.2 Rationalization ( การหาข้ออ้าง )  คือการหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองอย่างไม่ถูกต้อง เช่นอยู่บ้านเช่าที่แออัด ไม่มีปัญญาหาที่อยู่ใหม่ ก็ปลอบใจตัวเองว่าอยู่ตรงนี้ไปไหนมาไหนสะดวกดี
            4.3   Displacement ( การหาสิ่งทดแทน ) ระบายความรู้สึกจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่งเช่นโกรธสามีแต่ไปด่าลูกแทน       
                4.4  Conversion การเปลี่ยนแรงกระตุ้นทางด้านจิตใจไปสู่ความแปรปรวนทางกาย เช่น ถูกขัดใจก็เป็นลมหมดสติไป
4.5 Reaction formation คือการผันแรงขับที่ไม่ต้องการไปเป็นแบบตรงข้าม เช่นเกลียด
แต่แกล้งทำเป็นว่ารัก
              4.6 Projection คือการโยนความผิดให้ผู้อื่น ตรงกับสำนวนที่ว่ารำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
              4.7 Denial การปฏิเสธความจริง เช่นแม่พยายามหลอกตัวเองว่าลูกยังไม่ตายทั้งๆที่เขาตายไปแล้ว
              4.8 Sublimation การที่บุคคลเปลี่ยนพลังทางเพศหรือความก้าวร้าวไปสู่พฤติกรรมที่สังคมยอมรับ เช่นนักมวย .จิตรกรวาดภาพเปลือย
              4.9 Regression การถอยหลังเข้าคลอง เช่นผู้ใหญ่ที่แสดงกิริยาอาการเหมือนเด็ก
              4.10 Compensation  คือการชดเชยส่วนที่ด้อยด้วยการสร้างจุดเด่นด้านอื่นแทน เช่นขี้เหร่แต่พยายามตั้งใจเรียนจนได้เกียรตินิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น